Cooling tower Package หากคุณมีพื้นที่ที่จำกัด และต้องการลดเวลาในการติดตั้งคูลลิ่งเทาเวอร์ เราขอเสนอทางเลือกที่จะช่วยตอบโจทย์ทั้ง 2 ข้อนี้ ด้วยอุปกรณ์ระบายความร้อนแบบสำเร็จรูป หรือ คูลลิ่งเทาเวอร์แบบแพ
NEW COOLING TOWER
การออกแบบรูปแบบการให้บริการที่ครอบคลุมสามารถร่วมวางแผนในการสร้างสรรค์รูปแบบ Cooling Tower ให้เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้าอย่างสูงสุด
MAINTENANCE SERVICE
การบริการที่ไม่เพียงแต่เข้าถึงความต้องการ แต่ยังร่วมสร้างสรรค์เพื่อการดูแลและพัฒนาระบบ Cooling Tower ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
SPAREPART SERVICE
คลังสินค้าอะไหล่และอุปกรณ์ด้าน Cooling Tower ที่มีความครบครัน สมบูรณ์พร้อมด้วยการบริการจากทีมงานคุณภาพที่ผ่านการฝึกอบรมจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์โดยตรง
About Us
About Our Company
บริษัท สแปคโก้ คูลลิ่งเทาเวอร์ อินดัสตรี จำกัด หนึ่งในบริษัทผู้นำด้าน Cooling Tower ที่มีประสบการณ์ ผลงาน และความเชี่ยวชาญอันโดดเด่นจนได้รับความเชื่อถือจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม อาคาร และสถานประกอบการมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
Product
Our Product
หลักการทำงานของคูลลิ่งเทาเวอร์
Cooling Tower เป็นเครื่องจักรแลกเปลี่ยนความร้อนโดยใช้วิธีการระเหยตัวของน้ำ (Evaporation) ในกระบวนการ จะมีการสูญเสียน้ำไปส่วนหนึ่ง แต่น้ำส่วนใหญ่ยังคงนำกลับมาใช้ได้อีก โดยปกติเราสามารถจะนำ Cooling Tower ไปใช้ในการระบายความร้อนของน้ำในการหล่อเย็นกับอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ เช่น การหล่อเย็นอุปกรณ์ในขบวนการผลิต การหล่อเย็นอุปกรณ์ในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ ใช้ในการระบายความร้อนจากระบบปรับอากาศ โรงแรม , โรงพยาบาล , ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ
การที่ Cooling Tower เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้น้ำสามารถถ่ายเทความร้อนไปสู่อากาศได้นั้นสามารถอธิบายได้คือ Cooling tower เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการฉีดน้ำที่อุณหภูมิสูงให้กระจายตัวออกเป็นละอองเล็กๆ ตกผ่านแผงกระจายละอองน้ำ (Filler) ละอองน้ำเหล่านี้จะเกาะตัวกับแผงกระจายละอองน้ำ ทำให้เกิดเป็นพื้นที่เปียก ซึ่งจะสัมผัสกับอากาศที่ถูกดูดผ่านแผงกระจายละอองน้ำ ก่อให้เกิดขบวนการถ่ายเทความร้อนสัมผัสระหว่างน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกับอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ขณะเดียวกันละอองน้ำบางส่วนก็จะระเหยตัวกลายเป็นไอน้ำไปในอากาศ เพราะอากาศในขณะนั้นยังมีสภาพไม่อิ่มตัว น้ำจึงสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ดีมาก ซึ่งกระบวนการระเหยกลายเป็นไอของละอองน้ำนี้จำเป็นต้องใช้ความร้อน ดังนั้นละอองน้ำที่ระเหยตัวจึงดึงความร้อนจากปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ อาจกล่าวได้ว่า ขบวนการถ่ายเทความร้อนภายใน Cooling Tower แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.การถ่ายเทความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) จากอุณหภูมิน้ำที่สูง ไปสู่อุณหภูมิของอากาศที่ต่ำกว่า
2.การถ่ายเทความร้อนแฝง (Latent Heat) จากการระเหยตัวของน้ำไปสู่อากาศที่ยังไม่อิ่มตัว
หลักการทำงานของ Cooling Tower นี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยเพิ่มการระบายความร้อนของน้ำอุณหภูมิสูง ได้ดังนี้
1. เพิ่มการแตกตัวของละอองน้ำทำให้พื้นที่ผิวของละอองน้ำในการถ่ายเทความร้อนเพิ่มมากขึ้น
2. เพิ่มพื้นที่แผงกระจายละอองน้ำเพื่อทำให้น้ำมีโอกาสสัมผัสกับอากาศมากขึ้น
3. เพิ่มปริมาณอากาศ เพื่อเพิ่มอัตราการถ่ายเทความร้อน
การบำรุงรักษา Cooling Tower
อะไหล่ |
รายละเอียดการบำรุงรักษา |
โครงสร้าง (Structure) | -โครงสร้างที่เป็นเหล็ก สามารถเกิดการผุกร่อนได้ หมั่นตรวจสอบสนิมบริเวณที่เป็นโครงสร้างเหล็ก -ควรทำความสะอาด และทาสีใหม่กันสนิม รวมถึงตรวจสอบการผุกร่อนของน๊อตที่ใช้ยึดชิ้นส่วนต่างๆ |
ใบพัด (Fan Blade & Hub) | -ตรวจเช็คดูว่าน๊อตหลวม หลุด หรือไม่ -ตรวจเช็คสภาพใบ ว่ามีการ บิ่น ร้าว หรือ คดงอหรือไม่ |
เกียร์ (Gear) | -ฟังเสียงผิดปกติของเกียร์ -ดูการรั่วซึมของน้ำมันเกียร์ ที่เพลาใบพัด รอยต่อของเสื้อเกียร์ หน้าแปลนมอเตอร์ -ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ มีน้ำผสมอยู่ในน้ำมันเกียร์หรือไม่ |
มอเตอร์ (Motor) | -ฟังเสียงผิดปกติของมอเตอร์ -สังเกตการณ์สั่นของมอเตอร์-ตรวจเช็คกระแสไฟที่ส่งไปยังมอเตอร์ |
หัวกระจายน้ำ , ท่อจายน้ำ (Water Distribution) | -หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดรูจ่ายน้ำ หัวจ่ายน้ำ และท่อจ่ายน้ำ ให้มีระยะห่างระหว่างท่อกับผิวฟิลเลอร์เล็กน้อย แต่ไม่ติดผิวหน้าของฟิลเลอร์ ตรวจสอบการรั้งที่รอยต่อที่หัวจ่ายน้ำ ปริมาณน้ำไหล ดูความหนาแน่นของน้ำที่ตกลงผิวน้ำควรกระจายสม่ำเสมอทั่วของคูลลิ่งเทาเวอร์ |
แผงกระจายน้ำ (Filler) | -ทำความสะอาดโดยการใช้น้ำฉีดล้างภายในตัวคูลลิ่งทาวเวอร์ |
แผงดักละอองน้ำ (Drift Eliminator) | -ทำความสะอาดโดยการฉีดล้าง โดยทำการฉีดล้างในขณะที่ดริฟท์แห้ง |
อ่างน้ำร้อน – เย็น (Water Basin) | -ทำความสะอาดโดยใช้แปรงขัด รวมถึงบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ด้วย และใช้น้ำฉีดล้าง |
รู้หรือไม่ ใบพัดไฟเบอร์กลาสมีดีอย่างไร
บริษัท สแปคโก้ คูลลิ่งเทาเวอร์ อินดัสตรี จำกัด หนึ่งในบริษัทผู้นำด้าน Cooling Tower ที่มีประสบการณ์ ผลงาน และความเชี่ยวชาญอันโดดเด่นจนได้รับความเชื่อถือจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม อาคาร และสถานประกอบการมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ใบพัดไฟเบอร์กลาส หรือ FRP (Fiber Reinforced Plastic) เป็นวัสดุผสม (Composite) ระหว่างเส้นใยไฟเบอร์ และ เรซิ่น (Resin)
มีคุณสมบัติ
1. มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการติดตั้งใช้งาน
2. มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและทนทานต่อสารเคมีสูง
3. ไม่นำความร้อนและกระเเสไฟฟ้า
4. บำรุงรักษาน้อยและมีความทนทานสูง
5. สามารถใช้งานได้ในบริเวณทีมีความชื้นได้โดยไม่เสื่อมสภาพ
6. ประหยัดพลังงาน