องค์ประกอบของคูลลิ่งทาวเวอร์ ชนิดน้ำและอากาศไหลสวนทางกัน
(Counter flow)
คูลลิ่งทาวเวอร์ชนิดนี้อาศัยหลักการของอากาศเคลื่อนที่สวนทางกับน้ำ หรือแบบไหลสวนทาง (Counter flow) เหมือนกับคูลลิ่งทาวเวอร์ระบบดูดลมเข้าแบบไหลสวนทาง (แบบทรงกลม) ต่างกันตรงที่น้ำร้อนจะถูกกระจาย ผ่านหัวกระจายน้ำ (Spray Nozzle) ที่ลักษณะเป็นท่อกิ่งที่อยู่ด้านข้างของท่อกระจายน้ำ (Water Distributing Pipe) โดยอาศัยแรงดันของน้ำ ท่อกระจายน้ำจะติดตั้งอยู่ เหนือชั้นของฟิลเลอร์ เพื่อให้น้ำร้อนกระจายอย่างทั่วถึงเต็มพื้นที่หน้าตัดของฟิลเลอร์ อากาศเย็นจากภายนอกจะถูกดูดเข้าทางด้านล่างของตัวคูลลิ่งทาวเวอร์ โดยพัดลมที่ติดตั้งอยู่ด้านบน เคลื่อนที่สวนทางขึ้นกับการเคลื่อนที่ลงของน้ำจึงทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนระหว่างน้ำกับอากาศ ทำให้อุณหภูมิของน้ำลดลง น้ำเย็นที่ได้จะตกลงสู่ อ่างรับน้ำที่ทำด้วยคอนกรีตหรือ ไฟเบอร์กลาส ก่อนที่จะถูกดูดกลับไปใช้งานอีกครั้ง วัสดุที่ใช้ก่อสร้างส่วนใหญ่ จะเป็น โครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี หรือ FRP Pultruded ในกรณีที่ต้องการให้ทนการผุกร่อนได้ดี ส่วนตัวคูลลิ่งและปล่องพัดลมจะทำจากไฟเบอร์กลาสและเสริมใยแก้ว (FRP) คูลลิ่งทาวเวอร์ลักษณะนี้ เหมาะสำหรับระบบน้ำหล่อเย็น ที่ต้องการระบายความร้อนปริมาณมาก และมีปริมาณอัตราไหลของน้ำสูง ทำให้คูลลิ่งทาวเวอร์ ที่ผลิตตามมาตรฐาน ทั่วไปไม่สามารถรองรับได้ ดังนั้นการผลิต และการออกแบบจึงเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
ชิ้นส่วน |
วัสดุที่ใช้ |
Structure |
ทำด้วยเหล็กชุบสังกะสี (HOT DIP GALVANIZED) , โครงสร้าง ไฟเบอร์กลาส FRP Pultruded (HDG , SUS , FRP , Wood) |
Air inlet |
ทำจากพลาสติก PE มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้วัตถุแปลกปลอมชิ้นใหญ่ ถูกดูดเข้าไปในคูลลิ่งทาวเวอร์ |
Fan Stack |
ทำด้วยไฟเบอร์กลาสและเสริมแรงด้วยเส้นใย (FRP) ติดตั้งอยู่ส่วนบนสุด มีลักษณะเป็นกรวยเล็กน้อยเพื่อให้อากาศร้อนไหลออกได้สะดวก |
Motor |
เป็นต้นกำลังที่ใช้ขับชุดใบพัด เนื่องจากลักษณะการทำงานต้องอยู่ในสถานที่เปียกชื้นจึงต้องเป็นมอเตอร์แบบปิด (Rating IP55) และกันน้ำได้สมบูรณ์ ชิ้นส่วนมอเตอร์ต้องทนต่อความชื้นได้ดี |
Gear Reducer |
คูลลิ่งทาวเวอร์ขนาดใหญ่ ต้องการอัตราการไหลของอากาศสูง ใบพัดจึงมีขนาดใหญ่ ความเร็วปลายใบพัดสูง เกิดเสียงรบกวนมาก จึงต้องมีการลดความเร็วรอบของใบพัด โดยทั่วไปมักใช้ระบบเกียร์ทดรอบหรือสายพานเป็นตัวทดรอบ ระบบเกียร์ทดรอบจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า และบำรุงรักษาน้อยกว่า |
Drive Shaft |
เพิ่มระยะห่างระหว่างมอเตอร์และเกียร์ วัสดุเป็น COMPOSITE และ STAINLESS |
Support Motor |
ทำด้วยเหล็กชุบสังกะสี (HOT DIP GALVANIZED, STAINLESS) ทำหน้าที่รองรับมอเตอร์และชุดเกียร์ให้สามารถทำงานได้อย่างมั่นคง ติดตั้งอยู่ด้านบนของปล่องลมออก และต้องมีตะแกรง (FAN GUARD) ติดตั้งอยู่ด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากใบพัดลม |
Fan Blade |
วัสดุเป็น Fiber glass Composite และ อลูมิเนียมหล่อ (ALUMINIUM ALLOY) และ มีหน้าที่ทำให้อากาศไหลผ่านตัวคูลลิ่งทาวเวอร์ เพื่อให้น้ำได้สัมผัสกับอากาศในปริมาณมากๆ จะทำให้การระบายความร้อนด้วยน้ำมีประสิทธิภาพสูงพัดลมที่เหมาะกับงานลักษณะนี้ คือ พัดลมแบบอากาศไหลผ่านตามแนวแกน (AXIAL FLOW FAN)พัดลมที่ดีจะต้องมีประสิทธิภาพสูง ไม่สั่นมาก แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้อย่างอย่างปลอดภัย |
Filler |
ทำด้วยพลาสติก PVC และ PP เป็นแผ่นบางและผ่านการขึ้นรูปเป็นลอนเล็กๆ น้ำที่ไหลผ่าน FILLER จะถูกแผ่ขยายออกเป็นพื้นที่กว้างและไหลช้าลง ทำให้อากาศกับน้ำมีโอกาสสัมผัสกันได้เต็มที่และนานพอพอที่จะให้อากาศพาความร้อนออกไปได้มากที่สุด |
Cold Water Basin |
ทำจากไฟเบอร์กลาสและเสริมแรงด้วยใย (FRP) หรือ CONCRETE ทำหน้าที่รองรับน้ำเย็นที่ผ่านจากฟิลเลอร์มาแล้วอ่างรับน้ำเย็นต้องจุน้ำได้มากพอ เมื่อเริ่มเดินเครื่องระดับน้ำจะต้องไม่ต่ำกว่าปากท่อน้ำออกและเมื่อหยุดเครื่องน้ำจะไม่ล้นออกมา |